หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

work 3 : Flipbook

work 3 : การสร้างแอนิเมชั่นโดยไม่ใช้กล้อง  Flip book

Flipbook

ฟลิ๊บบุ๊ค (Flip Book) หรือเรียกง่ายๆว่า สมุดดีด คือการวาดภาพเคลื่อนไหวอย่างง่าย ลงในกระดาษแผ่นเล็กๆ แล้วนำมาเย็บเป็นเล่ม โดยอาศัยหลักทฤษฎีภาพติดตามาใช้ จากการเปิดสมุดภาพด้วยความเร็ว จนเกิดเป็นงานอนิเมชั่น - ภาพเคลื่อนไหวดีๆ จากหน้ากระดาษที่สามารถจับต้องได้ 

และนี่ก็คือคลิปวีดีโอผลงานของดิฉันค่ะ




วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

work 2 : การสร้างแอนิเมชั่นโดยไม่ใช้กล้อง (Zoetrope)

work 2 : การสร้างแอนิเมชั่นโดยไม่ใช้กล้อง  Zoetrope

Zoetrope


          Zoetrope อุปกรณ์สำหรับสร้างภาพเคลื่อนไหวประดิษฐ์ขึ้นโดย William George Horner ค.ศ.1834 Zoetrope  สร้างจากแนวคิดเดียวกับ Phenakistiscope แต่ได้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นเพื่อให้สามารถดูภาพได้ทีละหลายๆคนพร้อมๆกันโดยไม่ต้องดูอยู่หน้ากระจกเงาอีก อุปกรณ์นี้ลักษณะคล้ายกับกลองแต่เปิดฝาด้านบนออก วาดภาพวัตถุเคลื่อนไหวในช่วงต่างๆกันติดไว้รอบตัวถังด้านใน ผู้ชมสามารถนั่งอยู่ลอบๆแล้วมองภาพผ่านช่องเล็กๆได้พร้อมๆกัน

          ค.ศ.1891 Thomas Alva Edison และผู้ช่วย William K.L.Dickson ได้ประดิษฐ์ Kinetoscope (อุปกรณ์สำหรับใช้ดูภาพเคลื่อนไหว ) ขึ้นที่สตูดิโอ ? Black Maria ? ซึ่งตั้งอยู่ที่ West Orange , New Jersy ห้องทดลองแห่งแรกของ Edison ตัวเครื่องทำด้วยไม้ขนาดสูง 4 ฟุตมีหลอดไฟฟ้าเป็นแหล่งกำเนิดแสงและใช้ฟิล์ม 35 มม. ฟิล์มมีความยาวประมาณ 30 ? 60 วินาที ผู้ชมต้องชมภาพยนตร์ผ่านทางเลนส์ที่ช่องด้านบนเครื่อง ผู้ชมสามารถชมภาพยนตร์ได้ทีละหนึ่งคนเท่านั้น


 William George Horner 




สำหรับวิชานี้ มีงานชิ้นที่ 2 ที่ใช้เทคนิค  Zoetrope  วิธีทำดังนี้

วัสดุ-อุปกรณ์ 
1. ดินสอ
2. ยางลบ
3. ไม้บรรทัด
4. ปากกาหมึกซีม
5. สี
6. กาว (กาวสองหน้า และ กาว UHU
7. ฟิวเจอร์บอร์ด
8. กระดาษการ์ดแข็งสีดำ
9. กระดาษอาร์ตวาดรูปสีขาว
10. ตะเกียบ

วิธีทำ
1. วาดวงกลมขนาดที่ต้องการลงในฟิวเจอร์บอร์ด จากนั้นก็ใช้กรรไกรตัดเตรียมไว้ และเจาะรูเล็กๆตรงกลางไว้
2. นำกระดาษมาลองม้วนรอบวงกลมที่ตัดไว้ เพื่อหาค่าความยาวของกระดาษที่ต้องใช้
3. หลังจากที่ได้ความยาวแล้ว เราก็เตรียมวัดและเฉลี่ยดู ว่าจะให้มีกี่ช่อง ส่วนความสูงแล้วแต่เรา ประมาณ 3-4 นิ้ว
5. วาดรูป ภาพที่เราต้องการสื่อโดย วาดเป้นอิริยาบถหลายๆท่า ให้ดูเป็นการเคลื่อนไหว ลงสีให้สวยงาม
6. นำไปติดลงกระดาษการ์ดดำ โดยเอาสีดำไว้ด้านหลัง ส่วนด้านหน้าจะเป็นรูปที่เราวาด
7. ตัดช่องเล็กๆเพื่อเป็นช่องในการดู
8. นำมาติดกับวงกลมที่ตัดไว้ รอกาวแห้ง
9. ตัดกระดาษแข็งเป็นวงกลมๆเล็กเพื่อเป็นตัวรองของด้ามจับ
10. นำตะเกียบเสียบตรงกลางเหนือวงกลมขึ้นไปประมาณ 2 เซนติเมตร



work 1 : การสร้างแอนิเมชั่นโดยไม่ใช้กล้อง ภาพหมุน ( Thaumatrope )

work 1 : การสร้างแอนิเมชั่นโดยไม่ใช้กล้อง ภาพหมุน
( Thaumatrope )

หลักการเกิดภาพเคลื่อนไหว

          การที่เราเห็นภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพที่ฉายต่อเนื่องกัน ดูเป็นลักษณะภาพเคลื่อนไหวได้นั้น สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการเห็นภาพติดตา (Persistence of Vision)  อันเป็นหัวใจของหลักการสร้างภาพยนตร์เพราะภาพยนตร์ก็คือภาพนิ่งแต่ละภาพที่ ต่อเนื่องกันอย่างมีระบบนั่นเอง  ซึ่งมีที่มาตั้งแต่ของเล่นที่ชื่อว่า ภาพหมุน ( Thaumatrope )

ภาพหมุน ( Thaumatrope )

          Thaumatrope (อ่านว่า ธัมมาโทรป) เป็นของเล่นที่ประดิษฐ์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2368 (ค.ศ. 1825) โดย ดร.วิเลี่ยม เฮนรี่ ฟิตตอน (Dr. William Henry Fitton) ซึ่งได้แนวคิดมาจากเซอร์จอห์น เฮอร์เซล ผู้ที่สังเกตว่าสายตามนุษย์สามารถมองเห็นภาพทั้งสองด้านของเหรียญที่หมุน อยู่ได้พร้อมกัน


ดร.วิเลี่ยม เฮนรี่ ฟิตตอน (Dr. William Henry Fitton)

ที่มา : https://filmv.wordpress.com/unit-1/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94/


ซึ่งในการเรียนวิชานี้ อาจารย์ได้สอนทำ เป็นเทคนิคการทำเบื้องต้นที่มองดูเหมือนง่าย แต่ก็ไม่ง่ายเลย
วิธีทำ   1. วาดวงกลมลงในกระดาษ 2 วง ด้วยกัน โดยวาดให้มีขนาดเท่ากัน
2. วาดรูปภาพลงไปทั้งสองวง โดยให้เราวางแผน จินตนาการว่าจะสร้างความเคลื่อนไหวอย่างไร วาดให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน เช่น ของดิฉัน วาดเป็นการ์ตูนซอมบี้ ส่วนอีกภาพ เป็นรูปกระถางต้นไม้ โดยจัดตำแหน่งให้พอดี ที่คิดว่าหมุนไปมา จะได้ตำแหน่งตามต้องการ
3. ใช้กรรไกรตัดวงกลม ที่เราวาดภาพลงสีไว้เรียบร้อยแล้ว
4. ทากาว แล้วนำมาประกบกัน โดยของดิฉันจะใช้เทคนิคในการทำแท่งจับ ฉันก็จะวางตะเกียบไว้ตรงกลางระหว่างวงกลมสองอัน
5. รอกาวแห้ง แล้วเราก็ลองหมุนดู จะเห็นได้ว่าเหมือนภาพมีการเคลื่อนไหว

มีคลิปวีดีโอมาให้ชมด้วยค่ะ