หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

work 1 : การสร้างแอนิเมชั่นโดยไม่ใช้กล้อง ภาพหมุน ( Thaumatrope )

work 1 : การสร้างแอนิเมชั่นโดยไม่ใช้กล้อง ภาพหมุน
( Thaumatrope )

หลักการเกิดภาพเคลื่อนไหว

          การที่เราเห็นภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพที่ฉายต่อเนื่องกัน ดูเป็นลักษณะภาพเคลื่อนไหวได้นั้น สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการเห็นภาพติดตา (Persistence of Vision)  อันเป็นหัวใจของหลักการสร้างภาพยนตร์เพราะภาพยนตร์ก็คือภาพนิ่งแต่ละภาพที่ ต่อเนื่องกันอย่างมีระบบนั่นเอง  ซึ่งมีที่มาตั้งแต่ของเล่นที่ชื่อว่า ภาพหมุน ( Thaumatrope )

ภาพหมุน ( Thaumatrope )

          Thaumatrope (อ่านว่า ธัมมาโทรป) เป็นของเล่นที่ประดิษฐ์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2368 (ค.ศ. 1825) โดย ดร.วิเลี่ยม เฮนรี่ ฟิตตอน (Dr. William Henry Fitton) ซึ่งได้แนวคิดมาจากเซอร์จอห์น เฮอร์เซล ผู้ที่สังเกตว่าสายตามนุษย์สามารถมองเห็นภาพทั้งสองด้านของเหรียญที่หมุน อยู่ได้พร้อมกัน


ดร.วิเลี่ยม เฮนรี่ ฟิตตอน (Dr. William Henry Fitton)

ที่มา : https://filmv.wordpress.com/unit-1/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94/


ซึ่งในการเรียนวิชานี้ อาจารย์ได้สอนทำ เป็นเทคนิคการทำเบื้องต้นที่มองดูเหมือนง่าย แต่ก็ไม่ง่ายเลย
วิธีทำ   1. วาดวงกลมลงในกระดาษ 2 วง ด้วยกัน โดยวาดให้มีขนาดเท่ากัน
2. วาดรูปภาพลงไปทั้งสองวง โดยให้เราวางแผน จินตนาการว่าจะสร้างความเคลื่อนไหวอย่างไร วาดให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน เช่น ของดิฉัน วาดเป็นการ์ตูนซอมบี้ ส่วนอีกภาพ เป็นรูปกระถางต้นไม้ โดยจัดตำแหน่งให้พอดี ที่คิดว่าหมุนไปมา จะได้ตำแหน่งตามต้องการ
3. ใช้กรรไกรตัดวงกลม ที่เราวาดภาพลงสีไว้เรียบร้อยแล้ว
4. ทากาว แล้วนำมาประกบกัน โดยของดิฉันจะใช้เทคนิคในการทำแท่งจับ ฉันก็จะวางตะเกียบไว้ตรงกลางระหว่างวงกลมสองอัน
5. รอกาวแห้ง แล้วเราก็ลองหมุนดู จะเห็นได้ว่าเหมือนภาพมีการเคลื่อนไหว

มีคลิปวีดีโอมาให้ชมด้วยค่ะ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น